Location:

ภาพแสดงระยะต่างๆ ของปัญหาสุขภาพเหงือก
ภาพแสดงระยะต่างๆ ของปัญหาสุขภาพเหงือก

ปัญหาสุขภาพเหงือกในระยะต่างๆ

โรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) คืออะไรและจะนำไปสู่การสูญเสียฟันได้อย่างไร?

โรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื่อ เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกที่อยู่รอบๆ และเป็นส่วนรองรับฟันของคุณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่าอวัยวะปริทันต์

ปัญหานี้เป็นหนึ่งในสองขั้นที่รุนแรงที่สุดของปัญหาสุขภาพเหงือก เมื่อคุณเป็นโรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) แล้ว ฟันของคุณจะไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้อีก และอาจทำให้เกิดการสูญเสียฟันอย่างถาวร จึงจำเป็นต้องมีการรักษาทางการแพทย์หรือทันตกรรม

ภาพจำลองแสดงปัญหาจากโรคปริทันต์อักเสบ

สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) คืออะไร?

โรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) สามารถเกิดขึ้นหากไม่รักษาปัญหาเหงือกอักเสบ (gingivitis) โรคนี้มีสาเหตุมาจากการสะสมของคราบพลัคที่ด้านบนและด้านล่างแนวเหงือก (ส่วนที่เหงือกมาสัมผัสกับฟัน) ซึ่งอาจทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟันของคุณได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถคืนสภาพเดิมได้อีก

ความเสียหายของเนื้อเยื่ออาจทำให้เหงือกแยกออกจากฟัน ทำให้เกิดช่องว่างหรือ 'ร่อง' ขนาดเล็กที่เป็นที่สะสมคราบพลัคและเกิดการติดเชื้อได้ เมื่อปัญหารุนแรงขึ้น กระดูกก็จะเริ่มกร่อน และหากไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้ฟันโยกคลอนได้ ซึ่งฟันก็จะหลุดออกหรือต้องให้ทันตแพทย์ถอนออกไป

อย่าละเลยสัญญาณเตือน

โรคปริทันต์อักเสบ (periodontitis) คือขั้นสุดท้ายของปัญหาสุขภาพเหงือก ซึ่งต่างจากปัญหาเหงือกอักเสบ (gingivitis) ตรงที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ และผลที่ตามมาในด้านรูปลักษณ์และความรู้สึกที่มีต่อเหงือกและฟันของคุณจะรุนแรงและยาวนาน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณต้องไม่ปล่อยให้ล่วงเลยถึงขั้นนี้

ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเลือดออกขณะแปรงฟัน กลิ่นปาก หรือการที่เหงือกบวม แดง ปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนแรกเริ่มของปัญหาสุขภาพเหงือก ดังนั้นโปรดอย่าละเลยปัญหาเหล่านี้ หากคุณพบว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ คุณควรปรึกษาทันตแพทย์ของคุณทันทีเพื่อรับการรักษา และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลที่เหมาะสมก่อนที่ปัญหาสุขภาพเหงือกของคุณจะมีอาการรุนแรง

นอกจากนี้ คุณยังสามารถลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพเหงือกได้ ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกวิธี ซึ่งได้แก่ การแปรงฟันอย่างถูกวิธีวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟัน เช่น ยาสีฟันพาโรดอนแทกซ์ ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การใช้ไหมขัดฟันหรือใช้แปรงทำความสะอาดซอกฟัน ตลอดจนการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันโดยทันตแพทย์ของคุณเป็นประจำ